1. สภาพทางสังคม
ชุมชนในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นสังคมชนบทที่มีวิถีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ประชาชนมีความใกล้ชิด มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเพณีและกิจกรรมของชุมชน โดยนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 8 หมู่บ้าน และนับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งในตำบลมีศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จำนวน 8 แห่ง ได้แก่
1. วัดควนกะไหล ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
2. วัดแก้วมณีศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
3. วัดเจริญรมนาวาส ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
4. วัดศรีรัตนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
5. มัสยิดบ้านสามช่องใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
6. มัสยิดบ้านสามช่องเหนือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
7. มัสยิดบ้านป่ายาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 10
8. มัสยิดบ้านเกาะกลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
1.1 การศึกษา
สถานศึกษาในตำบล มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนตะกั่วทุ่งงานทวีวิทยาคม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
2. โรงเรียนวัดศรีรัตนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
3. โงเรียนบ้านสามช่อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
4. โรงเรียนบ้านป่ายาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 10
5. โรงเรียนบ้านเกาะกลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
6. โรงเรียนบ้านกะไหล ตั้งอยู่หมู่ที่ 12
7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะไหล ตั้งอยู่หมู่ที่ 1,11
8. โรงเรียนอนุบาลกะไหล ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
1.2 สาธารณสุข
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะไหล จำนวน 2 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะไหล ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะไหล (บ้านเกาะกลาง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
นอกจากนี้ด้านสุขภาพอนามัย องค์การบริหารส่วนตำบลกะไหลได้ส่งเสริมให้มีลานออกกำลังกายอยู่ในพื้นที่ภายในบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล
2. ระบบบริการพื้นฐาน
2.1 การคมนาคมขนส่ง
การสัญจรไปมาสะดวก โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายเพชรเกษม มีสภาพการคมนาคมทั่วไปอยู่ในสภาพดีและมีรถโดยสารประจำทางผ่านตลอดเวลา ดังนี้
ทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 1 สาย ได้แก่
-หมายเลข 4 สายเพชรเกษม ลักษณะถนนลาดยาง
-ทางหลวงชนบทจำนวน 2 สาย ได้แก่
-ถนนลาดยางโยธา สายบางนุ – ตำบลถ้ำ
-ถนนลาดยางสายป่ายาง – ตำบลท่าอยู่
-ถนนภายในหมู่บ้าน จำนวน 57 สาย แยกเป็น
-ถนนลาดยาง จำนวน 14 สาย
-ถนน คสล. จำนวน 45 สาย
-ถนนลุกรัง จำนวน 17 สาย
ท่าเทียบเรือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
-ท่าเทียบเรือประจำตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
-ท่าเทียบเรือประจำหมู่บ้าน 4 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8,10,11
2.2 การไฟฟ้า
การไฟฟ้าเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล ไฟฟ้าเข้าถึงจำนวน 12 หมู่บ้าน โดยส่วนใหญ่มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน หรือ ประมาณร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด
2.3 การประปา
การประปาหมู่บ้าน 19 แห่ง ประกอบด้วย
หลังบ้านพักโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะไหล : ประปาผิวดิน
-
หมู่ที่ 2 อบต. ประปาผิวดิน
หลังวัดควน : ประปาบาดาล/บ้านควน : บาดาล/บ้านควน : บ่อน้ำตื้น
-
หมู่ที่ 3 วัดควนกะไหล : ประปาบาดาล
บ้านนาใน : ประปาบาดาลหมู่ที่ 4 ประปาบาดาล (2 แห่ง)
-
หมู่ที่ 5 ในหมู่บ้าน : ประปาบาดาล
ขุมจี้บึง : ประปาผิวดิน
-
หมู่ที่ 6 หน้าตลาดลองแล : ประปาบาดาล
ตรงข้ามขุมน้ำบางนุ : ประปาบาดาล
ศาลพ่อตาแรด : ประปาผิวดิน
-
หมู่ที่ 7 หลังวัดศรีรัตนาราม : ประปาบาดาล
ในโรงเรียนวัดศรีฯ : ประปาบาดาล
-
หมู่ที่ 10 ในหมู่บ้าน : ประปาบาดาล (ข้างมัสยิด)
-
หมู่ที่ 11 หน้าสวนงานทวี : ประปาผิวดิน
-
หมู่ที่ 12 ในซอยโหนทราย : ประปาบาดาล
ซอยบางส้นตอ : ประปาบาดาล
2.4 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขย่อย จำนวน 1 แห่ง
3. ระบบเศรษฐกิจ
3.1 อาชีพหลักของครัวเรือน
พื้นที่ตำบลกะไหล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกรรม จำนวน 738 ครัวเรือน อาชีพค้าขาย จำนวน 185 ครัวเรือน อาชีพรับจ้าง จำนวน 184 ครัวเรือน และ อาชีพประมง จำนวน 123 ครัวเรือน
3.2 อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง
ประชากรในพื้นที่ตำบลกะไหล ประกอบอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง คือ อาชีพทำขนม จำนวน 62 ครัวเรือน
3.3 กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ
มีจำนวน 11 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเพ้นท์ผ้า จำนวนสมาชิก 15 คน
2. กลุ่มเกษตร จำนวนสมาชิก 24 คน
3. กลุ่มดอกไม้ใบมังคุด จำนวนสมาชิก 11 คน
4. กลุ่มเพาะเห็ด จำนวนสมาชิก 8-13 คน
5. กลุ่มเครื่องแกง จำนวนสมาชิก 10 คน
6. กลุ่มยาดม จำนวนสมาชิก 15 คน
7. กลุ่มผ้ามัดย้อม จำนวนสมาชิก 10 คน
8. กลุ่มปลูกผัก จำนวนสมาชิก 8 คน
9. กลุ่มผ้ามัดย้อม จำนวนสมาชิก 10 คน
10. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเหงือปลาหมอ จำนวนสมาชิก 10 คน
11. กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน
- กลุ่ม Homestay จำนวนสมาชิก 15 คน
- กลุ่มเกษตรประมงกะไหล จำนวนสมาชิก 50 คน
- กลุ่มเรือแคนู จำนวนสมาชิก 20 คน
- กลุ่มเรือจำลอง จำนวนสมาชิก 7 คน
- กลุ่มบริการเรือนำเที่ยว จำนวนสมาชิก 32 คน
- กลุ่มกะปิ จำนวนสมาชิก 7 คน
- กลุ่มผ้ามัดย้อม จำนวนสมาชิก 7 คน
3.4 กองทุนในตำบลมีจำนวน 30 กองทุน ดังนี้
1. กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 11 กองทุน
2. กองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 6 กองทุน
3. กองทุนธนาคารอิสลาม จำนวน 2 กองทุน
4. กองทุน กข. คจ. จำนวน 1 กองทุน
5. ธนาคารหมู่บ้าน จำนวน 1 กองทุน
6. กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 9 กองทุน
4. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
4.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 67 และอิสลาม ร้อยละ 33 โดยนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 8 หมู่บ้าน และนับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งในตำบลมีศาสนสถานที่ใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา จำนวน 8 แห่ง กระจายอยู่ทุกหมู่บ้านโดยรัฐมีการให้บริการเป็นแหล่งศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจสามารถรองรับได้ทั้งตำบลนอกจากใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาแล้วยังใช้เป็นที่รวมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี งานรื่นเริงประจำปีและพักผ่อนหย่อนใจของชุมชน
4.2 ประเพณี
องค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล ได้จัดกิจกรรมตามประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีจัดงานวันสงกรานต์และรดน้ำผู้สูงอายุ งานวันลอยกระทง ฯลฯ
4.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในพื้นที่ตำบลกะไหล มีภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่หมอพื้นบ้านดีเด่น จังหวัดพังงา ด้านการรักษาด้วยสมุนไพร ปัดยาด อาการตัวเหลือง น้ำเหลืองเสีย คือ นางละมุน สกุลชัยทวี อยู่บ้านเลขที่ 24 หมู่ 2 ตำบล กะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีความสามารถรักษาโรค รักษายาดในเด็กแรกเกิด ประสบการณ์การรักษาเป็นเวลา 27 ปี
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
5.1 น้ำ
แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
-
ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 3 สาย
-
บึง หนองและอื่น ๆ จำนวน 3 แห่ง
แหล่งที่สร้างขึ้น
-
ฝาย จำนวน 3 แห่ง (ฝายเชียงใหม่ ฝายคลองกะไหล ฝายคลองบางนุ)
-
บ่อน้ำตื้น มีทุกหลังคาเรือน
-
สระน้ำ จำนวน 1 แห่ง (สระน้ำบางนุ)
|